การปรู๊ฟงานพิมพ์
หนึ่งในขั้นตอนสำคัญมากในการสั่งทำซองก็คือการปรู๊ฟงานนี่แหละ ที่จะทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้อย่างหมดห่วงว่างานที่ออกมาจะตรงตามแบบที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งโรงพิมพ์ทุกที่จะมีขั้นตอนนี้กันอย่างแน่นอน “ไทยการซอง” ของเราเองก็เช่นกัน เพื่องานพิมพ์ที่มีคุณภาพเราพร้อมบริการการปรู๊ฟงานทุกรูปแบบ ถ้าคุณลูกค้าอยากรู้ว่าการปรู๊ฟงานมีรูปแบบไหนบ้าง เราจะพาไปหาคำตอบกันในบทความด้านล่างนี้ แต่ถ้าคุณลูกค้าสนใจการสั่งผลิตกับไทยการซองไม่ว่าจะเป็น ซองจดหมาย, บรรจุภัณฑ์ หรืองานพิมพ์อื่นๆ เราสามารถทำได้ทุกรูปแบบสามารถติดต่อเราได้เลย ที่นี่
ประเภทของการปรู๊ฟงานพิมพ์
การปรู๊ฟงานพิมพ์จะแบ่งหลักๆ ได้ 2 ประเภทก็คือการปรู๊ฟงานแบบ Digital และการปรู๊ฟงานแบบ Offset ซึ่งจุดประสงค์ของการปรู๊ฟงานทั้ง 2 แบบนี้ก็เพื่อให้ลูกค้าสามารถได้เห็นภาพงานที่ใกล้เคียงกับการผลิตจริงให้ได้มากที่สุด คุณภาพความใกล้เคียงของงานปรู๊ฟก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเภทลูกค้าสามารถเลือกได้ทุกรูปแบบตามจุดประสงค์ที่ลูกค้าต้องการ
การปรู๊ฟงานแบบ Digital
การปรู๊ฟงานแบบ Digital จะเหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการผลิตงานจริง แต่อาจจะมีความคลาดเคลื่อนเรื่องของสีพิมพ์ที่อาจจะแตกต่างจากงานผลิตจริงได้ 10-20 เปอร์เซ็นต์และยังสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 รูปแบบ
1. การปรู๊ฟงานแบบออนไลน์
ตรงตามชื่อของมันเลยก็คือการส่งไฟล์ Digital ให้ลูกค้าตรวจเช็คความถูกต้องของ Artwork ตามที่ลูกค้าต้องการว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ไม่ว่าคุณจะต้องการปรู๊ฟงานแบบ Digital หรือ Offset ก็ตาม สิ่งที่ลูกค้าต้องทำในขั้นตอนนี้ก็คือการตรวจสอบความถูกต้องของข้อความ ไม่ว่าจะเป็นคำผิดหรือข้อความที่ลูกค้าต้องการแก้ไขจากไฟล์ Artwork เก่า ตรวจสอบขนาดและตำแหน่งของข้อความหรือโลโก้ว่าถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่โดยที่ทาง “ไทยการซอง” เราจะส่งเป็นไฟล์รูปพร้อมใส่เส้นวัดระยะให้ลูกค้าตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
“ไฟล์ Digital ไม่สามารถใช้อ้างอิงสีได้” เพราะสีบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอโทรศัพท์จะแสดงผลเป็น RGB ทำให้สีอาจจะแตกต่างจากการพิมพ์จริงที่เป็นสี CMYK อ่านข้อมูลเรื่องโหมดสี RGB และ CMYK ได้ที่นี่ ถ้าลูกค้าตรวจสอบจนแน่ใจแล้วก็สามารถไปขั้นตอนต่อไปได้เลยก็คือการพิมพ์ Mockup ด้วยเครื่องพิมพ์ Digital หรือถ้าลูกค้าต้องการงานเร่งด่วนก็สามารถสั่งผลิตได้เลยทันทีเหมาะสำหรับ งานพิมพ์แบบขาวดำ, งานพิมพ์ซองสำเร็จ เป็นต้น
ตัวอย่างรูปภาพจากไฟล์ Digital สำหรับการปรู๊ฟแบบออนไลน์
2. การปรู๊ฟงานด้วย Mockup จากเครื่องพิมพ์ Digital
หลังจากลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องด้วยไฟล์ Digital แล้วไทยการซองของเราจะทำการส่ง Mockup ที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ Digital เพื่อให้ลูกค้าตรวจสอบตำแหน่ง ความถูกผิดของข้อความอีกครั้ง ก่อนการผลิตจริงการทำ Mockup จะทำให้ลูกค้าตรวจสอบได้ว่ารูปแบบซองถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่โดยขั้นตอนนี้ลูกค้ายังคงสามารถแก้ไขในจุดที่ผิดได้อยู่
“Mockup ที่พิมพ์จากเครื่อง Digital สีอาจจะแตกต่างจากงานผลิตจริง 10-20 เปอร์เซ็นต์” เพราะเครื่อง Digital กับ Offset ที่ใช้ในการผลิตจริงมีวิธีการผสมหมึกที่แตกต่างกันหมึกที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ Digital จะไปเคลือบอยู่บนพื้นผิวของตัวกระดาษที่ใช้ทำ Mockup ทำให้สีมีความเงาสดกว่าสีของการผลิตจริงที่ใช้ระบบ Offset ในการพิมพ์ที่หมึกจะซึมเข้าตัวกระดาษ และสีที่พิมพ์ก็จะแตกต่างกันตามกระดาษที่ใช้พิมพ์ Mockup อีกด้วย ทำให้บางกรณีที่ลูกค้าต้องการกระดาษแบบพิเศษสีของ Mockup อาจจะไม่ตรงตามงานผลิตจริง
ตัวอย่างเครื่องพิมพ์สำหรับทำ Mockup แบบ Digital
การปรู๊ฟงานแบบ Offset
เป็นขั้นตอนการปรู๊ฟงานที่จะมีความเหมือนกับงานผลิตจริงมากที่สุด เพราะการปรู๊ฟงานแบบ Offset ก็คือการผลิตงานจริงให้ลูกค้าได้ตรวจสอบโดยการใช้ หมึกจริง กระดาษจริง เพลทจริง และเครื่องพิมพ์แบบ Offset แต่ก็ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายเพิมเติมที่มากกว่าการทำ Mockup จากเครื่องพิมพ์ Digital เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการความแม่นยำของสีให้ตรงกับงานผลิตจริงมากที่สุด ถ้าลูกค้าต้องการปรู๊ฟงานแบบ Offset ก็จะแบ่งได้อีก 2 รูปแบบ
ตัวอย่างเครื่องพิมพ์ระบบ Offset สำหรับใช้ปรู๊ฟงานและผลิตจริง
1. การปรู๊ฟงานจากเครื่องพิมพ์ Offset
วิธีการนี้จะคล้ายกับการทำ Mockup จากเครื่องพิมพ์ Digital แล้วส่งให้ลูกค้าตรวจสอบแต่เปลี่ยนจากการทำ Mockup จากเครื่อง Digital เป็นการลองผลิตจริงด้วยเครื่องพิมพ์ Offset โดยใช้ขั้นตอนวิธีทำเหมือนกับการผลิตจริงทุกอย่างทำให้ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่มากกว่าการปรู๊ฟแบบ Digital เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการความแม่นยำของสีให้ตรงกับงานผลิตจริง เพราะการพิมพ์แบบ Offset จะพิมพ์ทีละสีซ้อนทับกัน หมึกจะซึมเข้าตัวกระดาษทำให้สีที่ได้จะจางกว่าการทำ Mockup แบบ Digital ที่สีจะเคลือบอยู่บนหน้ากระดาษแต่แบบ Offset จะได้ผลลัพท์เหมือนกับงานผลิตจริงมากกว่า
ขั้นตอนนี้จำเป็นจะต้องสั่งทำเพลทสำหรับใช้พิมพ์จริงขึ้นมาด้วยทำให้ใช้เวลามากกว่าแบบ Digital ที่ใช้แค่ไฟล์ Artwork ก็สามารถทำได้แล้ว “เนื่องจากมีการสั่งทำเพลทสำหรับผลิตจริงทำให้เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนนี้แล้วลูกค้าต้องมั่นใจว่าจะไม่แก้ไขตัว Artwork แล้วเพราะถ้าลูกค้าต้องการแก้ไข Artwork ก็จำเป็นต้องมีการสั่งทำเพลทใหม่ทำให้จะมีค่าใช้จ่ายและเสียเวลาที่ใช้ในการผลิตมากขึ้น”
ตัวอย่างการพิมพ์แบบ Offset ที่จะพิมพ์ทีละสีซ้อนทับกันจนได้สีที่ต้องการ [cr.ภาพ andrew1055]
2. การปรู๊ฟงานหน้าแท่น
การปรู๊ฟแบบนี้เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้สีพิเศษ (Spot color) ที่ต้องการให้งานผลิตจริงเหมือนกับในไฟล์ Artwork ให้มากที่สุดเพราะหลักๆ แล้วขั้นตอนนี้จะลูกค้าจะต้องเข้ามาดูงานผลิตจริงที่หน้าแท่นพิมพ์เพื่อตรวจสอบสีให้แน่ใจว่าสีที่ผลิตจริงจะใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการงานพิมพ์คุณภาพสูง หรืองานที่ต้องมีการผสมสีก่อนผลิตจริง การปรู๊ฟแบบนี้ลูกค้าจะได้เห็นทั้งกระดาษจริง และหมึกจริงทำให้มั่นใจได้เลยว่างานผลิตจริงจะมีความแม่นยำใกล้เคียงกับแบบที่ลูกค้าต้องการอย่างแน่นอน
ตัวอย่างการปรู๊ฟสีงานพิมพ์ให้สีตรงตามความต้องการมากที่สุด [cr.ภาพ senivpetro]
ตารางเปรียบเทียบการปรู๊ฟแบบ Offset และ Digital
สรุปการปรู๊ฟแต่ละประเภท
การปรู๊ฟงานแบบ Digital จะรวดเร็วกว่าถูกกว่าเหมาะสำหรับการตรวจสอบภาพรวมของงานผลิตจริง เช่น ความถูกต้องของข้อความ, ตำแหน่งการวาง Artwork, รูปแบบซองที่ต้องการ เป็นต้น แต่กระดาษและสีที่ใช้พิมพ์จะแตกต่างจากงานผลิตจริง
การปรู๊ฟงานแบบ Offset การปรู๊ฟแบบนี้จะเท่ากับการทำงานจริงต้องมีการทำเพลทสำหรับผลิตจริงเพราะฉะนั้นแล้วลูกค้าจะเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับการพิมพ์จริง 1 รอบและถ้าลูกค้าต้องการแก้แบบ Artwork ก็จำเป็นที่จะต้องทำเพลทใหม่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แลกมากับการที่ลูกค้าจะได้งานที่เหมือนกับการผลิตจริงทุกอย่าง ทั้งกระดาษ หมึกพิมพ์ และรูปแบบซองตามที่ลูกค้าต้องการ
ทำไมสีของการปรู๊ฟ แบบ Digital และแบบ Offset ถึงต่างกัน
เหตุผลหลักที่ทำให้การปรู๊ฟงานแบบ Digital และ Offset นั้นต่างกันเลยก็คือ “สี” มีปัจจัยมากมายที่จะทำให้สีของการพิมพ์นั้นออกมาต่างกันบทความด้านล่างนี้เราจะพาไปดูปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้คุณรู้ว่าการปรู๊ฟงานแบบไหนที่เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่คุณต้องการ
เทคโนโลยีการพิมพ์
การปรู๊ฟ Digital : เป็น Mockup ที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ระบบ Laser หรือ Inkjet ที่ใช้สีจากโทนเนอร์หรือหมึก ที่มีการผสมสีต่างจากแบบ Offset ทำให้ความอิ่มตัวและเฉดสีจะออกมาแตกต่างกันเล็กน้อย
การปรู๊ฟ Offset : เป็นการพิมพ์แบบ 4 สี CMYK ผ่านตัวเพลท ที่จะค่อยๆ พิมพ์ทีละสีซ้อนกันไปเพื่อให้เกิดสีที่ต้องการหรือบางครั้งถ้าลูกค้าต้องการสีที่ไม่สามารถพิมพ์แบบ CMYK ได้ก็จำเป็นต้องมีการผสมสีขึ้นมาใหม่ก่อนที่จะทำการพิมพ์ที่เรียกว่า สีพิเศษ Spot Color
ขอบเขตสี
การปรู๊ฟ Digital : การพิมพ์ด้วยเครื่อง Digital ขอบเขตสีจะกว้างกว่า นั่นหมายความว่าการทำ Mockup แบบ Digital สีที่ผสมได้จะมีความหลากหลายและสดใสกว่าทำให้การผลิตจริงที่ใช้ระบบ Offset สีอาจจะจางลงได้
การปรู๊ฟ Offset : การผสมสีแบบ CMYK มาตรฐานนั้นมีขอบเขตของสีแคบกว่าทำให้สีบางสีจะจางกว่าการพิมพ์แบบ Digital แต่ก็สามารถใช้สีพิเศษเพื่อมาแก้ไขตรงจุดนี้ได้
ความแตกต่างระหว่างหมึกและโทนเนอร์
การปรู๊ฟ Digital : เครื่องพิมพ์ระบบ Digital ส่วนใหญ่จะใช้หมึกพิมพ์ละลายน้ำหรือโทนเนอร์ ทำให้เวลาพิมพ์ลงบนกระดาษตัวหมึกจะเคลือบอยู่ด้านบนทำให้เห็นสีหมึกสดกว่างานผลิตจริงโดยเฉพาะกระดาษที่มีพื้นผิวมันวาว
การปรู๊ฟ Offset : จะใช้หมึกเหลวทำการพิมพ์โดยใช้เพลทเป็นตัวกลางทำให้กระดาษค่อยๆ ดูดซึมหมึกเข้าไปทีละสีทำให้สีอาจจะต่างจากตัว Mockup แบบ Digital ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวกระดาษที่ใช้พิมพ์อีกที
ประเภทของกระดาษ
การปรู๊ฟ Digital : ถึงแม้จะสามารถพิมพ์ลงบนกระดาษได้หลากหลายรูปแบบ แต่ก็มีข้อจำกัดต่อกระดาษบางประเภทที่มีความเฉพาะสูง ทำให้บางทีการทำ Mockup จะใช้กระดาษคนละตัวกับการผลิตจริงทำให้สีพิมพ์มีความแตกต่างกัน
การปรู๊ฟ Offset : เป็นการลองผลิตจริงที่มีขั้นตอนเหมือนการผลิตจริงทุกอย่างตั้งแต่กระดาษไปจนถึงหมึกพิมพ์ทำให้สามารถตรวจสอบการดูดซึมของหมึกและสีที่พิมพ์ออกมาได้ ความแม่นยำของสีปรู๊ฟกับงานผลิตจริงจะมีความใกล้เคียงสูงกว่าแบบ Digital
การปรับเทียบและการสร้างโปรไฟล์สี
การปรู๊ฟ Digital : เครื่องพิมพ์ Digital มักจะมีการปรับเทียบและตั้งโปรไฟล์สีมาแล้วทำให้การทำ Mockup อาจจะมีการแปรปรวนไม่สม่ำเสมอของสีได้ เป็นผลให้สีจะแตกต่างจากการพิมพ์จริงที่ใช้ระบบ Offset
การปรู๊ฟ Offset : เครื่องพิมพ์ Offset มักจะมีการปรับเทียบและสร้างโปรไฟล์สีเพื่อให้ได้การพิมพ์ที่สีสม่ำเสมอและแม่นยำกว่าระบบ Digital แต่ทั้งนี้การการปรู๊ฟงานแบบ Offset ก็อาจยังมีความคลาดเคลื่อนของสีได้อยู่ดีแต่จะไม่แตกต่างกันมากนักถ้าเทียบกับแบบ Digital
“ความแตกต่างในด้านเทคโนโลยี หมึก กระดาษ และกระบวนการพิมพ์ นำไปสู่ความแปรปรวนของสีระหว่างการปรู๊ฟ Digital และ Offset แม้ว่าปรู๊ฟ Digital จะมีประโยชน์สำหรับการตรวจสอบเบื้องต้น แต่ปรู๊ฟ Offset จะให้การแสดงผลที่แม่นยำมากกว่าในด้านความถูกต้องของสี”